วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Toefl by Rath Panyowat

by Rath Panyowat 

Step 1: Build vocabulary

หาหนังสือ vocab แล้วนำศัพท์ไปประเมินในเวป vocabulary.com ถ้าต่ำกว่า 1000 "ต้องรู้" ต่ำกว่า 5000 ควรรู้ จากนั้นเข้าไปที่ส่วน Practice แล้วก็ฝึกไปเรื่อยๆ จะได้ 100% Mastered จะสะดวกกว่ามากถ้าทำในแอพ iPad

Step 2: Grammar

  1. ซื้อหนังสือมาอ่าน เอาแบบสรุปๆ ที่สำคัญไม่ต้องลงรายละเอียดเยอะ
  2. อยากรู้เรื่องไหนดู Youtube เอา
  3. Youtube อย่างเดียวมักไม่พอต้อง google หา reference เพิ่มเติม เช่นเว็บ Grammar Bytes

Step 3: Reading and Listening

Barron’s TOEFL iBT with Audio CDs and CD-ROM 

Step 4: Writing

  1. Grammarly.com ใช้ตรวจทาน Grammar ของสิ่งที่เราเขียน โดยตรวจได้ฟรี และมีแบบเสียเงิน ใช้แบบฟรีก็ได้ งานเขียนในระดับสอบ TOEFL มันไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น 
  2. ดูตัวอย่างงานเขียนเยอะๆ
  3. หนังสือ Speaking and Writing Strategies for the TOEFL iBT  
  4. ใน coursera หรือ MOOC อื่นๆ (เช่น edXFutureLearn) จะมีสอน writing เยอะอยู่ส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่นาน
  5. เตรียมเรื่องเขียน 15 วัน เขียนวันละ 3 essay ก็รวมๆ เกือบ 50 essay ช่วงแรกๆ ที่เขียนมีปัญหาในการนึกคำ ก็เปิด Thesaurus ไปด้วยครับ คำไหนไม่แน่ใจก็ google

Step 5: Speaking

  1. Online course ของอาจารย์อดัมครับ ผมไปสมัครคอร์ส English Pronunciation Course มา เนื้อหา 6 ชม.
  2.  Phonetics by University of Iowa  คือจะบอกเราทีละเสียงเลยว่าแต่ละเสียงออกเสียงอย่างไร ทำปากยังไงเวลาพูด ก็ดูประกอบกับอาจารย์อดัมครับ
  3. พูดให้รู้เรื่อง ลำดับความคิดได้
  4. อ่านบทความ หรือฟัง TED talk แล้วพูดสรุปประเด็นสำคัญในนั้น

Step 6: Tools อื่นๆ

  1. NoteFull
  2. Engvids.com เป็นแหล่งรวมวิดีโอสอนภาษาอังกฤษ
  3. Grammar Girl ออกแนว tips เกี่ยวกับ grammar มากกว่า 


วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การบัญชีบริหาร Managerial Accounting



เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการนำข้อมูลทางการบัญชีมาเพื่อใช้ประโยชน์ภายในองค์กร โดยเฉพาะเพื่อเป็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ วางแผน การควบคุมและการประเมินผลของฝ่ายบริหาร บัญชีบริหารจะเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดเชิงลึกซึ่งมีข้อมูลที่มากกว่าที่ปรากฏอยู่ในงบการเงิน (หรือที่เรามักเรียกกันว่า การบัญชีการเงิน) บัญชีบริหารจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานในระดับต่างๆขององค์กร เป็นข้อมูลที่เป็นความลับเฉพาะฝ่ายบริหารและระดับหัวหน้าหน่วยงานในองค์กร และไม่เปิดเผยแก่บุคคลภายนอกหรือต่อสาธารณะ การบัญชีบริหาร ปัจจุบันเป็นวิชาชีพด้านหนึ่งในด้านต่างๆ ตามที่ระบุอยู่ในพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ และในสภาวิชาชีพบัญชี

การบัญชีการเงินนั้นเน้นเสนอข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงิน (ซึ่งได้แก่ งบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงิน) แก่ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ นักลงทุน และหน่วยงานราชการ (ได้แก่ กรมสรรพากร และกระทรวงพาณิชย์) ในขณะที่ การบัญชีบริหาร เน้นนำเสนอข้อมูลเพื่อการบริหาร เพื่อการตัดสินใจ การวางแผน การอำนวยการ และการควบคุม โดยเสนอแก่ ฝ่ายบริหารของกิจการ ได้แก่ ประธานกรรมการ กรรมการบริหาร ผู้จัดการฝ่าย เป็นต้น

กระบวนการในบัญชีบริหารนั้น ประกอบด้วยการวัดผลงาน การรวบรวมข้อมูล จัดกลุ่มหรือหมวดหมู่ การจัดเตรียมข้อมูล การแปลความหมาย การกำหนดค่า และวิเคราะห์ตัวเลข เพื่อตอบสนองการใช้งานของฝ่ายบริหารโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่ย่อมเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายต่างๆ ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรในองค์กร บัญชีบริหารมักจัดทำโดยอาศัยข้อมูลจากบัญชีการเงิน ประกอบกับข้อมูลทางตรงจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย ฝ่ายบริการซ่อมบำรุง หรือฝ่ายบริการต่างๆ เป็นต้น 

การบัญชีบริหารเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องราวของ “ต้นทุน” จนบางครั้งมีคนเรียก “บัญชีบริหาร” ว่า “บัญชีต้นทุน” ก็มี หากแต่ขอบเขตของการบัญชีบริหารนั้น พัฒนาขึ้นมาจากการบัญชีต้นทุน โดยมีขอบเขตที่กว้างกว่า เนื่องจากเน้นเทคนิคและวิธีการอื่นๆที่ผู้บริหารสามารถนำมาใช้เพื่อประกอบการบริหารงานและการตัดสินใจ 

การบัญชีต้นทุนนั้น เกี่ยวข้องกับเรื่อง การจำแนกต้นทุน การศึกษาพฤติกรรมของต้นทุน การประมาณการต้นทุน การควบคุมต้นทุน และการวิเคราะห์ผลต่าง การวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อการวางแผนและการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร การตั้งราคาโอน เป็นต้น

ในอดีตเรามักใช้เทคนิคที่เรียกว่า “การวิเคราะห์ผลแตกต่าง” (Variance Analysis) ซึ่งเป็นระบบการวัดโดยเปรียบเทียบระหว่าง “งบประมาณ” กับ “ตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง” สำหรับปริมาณการใช้วัตถุดิบ ค่าแรงงาน ที่เกิดขึ้นในงวดต่างๆของการผลิต 

ในปัจจุบันได้มีวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ใหม่ๆเกิดขึ้น เช่น การวิเคราะห์ต้นทุนโดยดูจากวงจรการผลิต (Life Cycle Cost Analysis) การบัญชีต้นทุนกิจกรรม (Activity Based Costing หรือที่เรียกว่า ABC) Balance Scorecard (BSC) และ KPI (Key Performance Indicator) เป็นต้น 

การวิเคราะห์ต้นทุนโดยดูจากวงจรการผลิตนั้น เป็นแนวคิดที่เชื่อว่า เราสามารถกำหนดต้นทุนของผลิตภัณฑ์จากขั้นตอนการออกแบบ ก่อนที่วงจรการผลิตจะเริ่มต้น การเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดการออกแบบบางประการจะสามารถเปลี่ยนแปลงต้นทุนได้เป็นอย่างมาก 

การบัญชีต้นทุนกิจกรรม เป็นแนวคิดที่เชื่อว่า ต้นทุนการผลิต นั้นมีปัจจัยกำหนดที่สำคัญคือ กิจกรรม ที่เกิดขึ้น ในระหว่างการผลิต จึงนำกิจกรรมต่างๆมาวิเคราะห์แจกแจงออกมา แล้วดูว่า กิจกรรมใดเป็นตัวผลักดันให้เกิดต้นทุนเป็นจำนวนมาก เรียกกิจกรรมที่เป็นตัวผลักดันสำคัญว่า เป็น Cost Driver ในบัญชีต้นทุนกิจกรรมนั้น มองค่าแรงงานทางตรงเป็น Cost Driver ที่สำคัญตัวหนึ่ง

Balance Scorecard คือระบบการบริหารงานและประเมินผลขององค์กร โดยพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการต่างๆ โดยเป็นเครื่องมือสำหรับการวางแผนและบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) โดยใช้หลักความสมดุลในมุมมองต่างๆ ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านการดำเนินงานภายใน และด้านการเรียนรู้และพัฒนา ซึ่งเรียกกันโดยตัวย่อว่า F-C-I-L หรือ Financial, Customer, Internal, Learning and Growth 

Key Performance Indicator นั้นคือการหาตัวดรรชนีชี้วัดที่สำคัญและเกี่ยวกับกิจการ อาจเป็นตัวชี้วัดที่ทำให้เรามองเห็นโอกาสที่จะเกิดปัญหาในจุดต่างๆ หรือเป็นตัวบ่งชี้ที่บอกให้เราทราบจุดที่ควรปรับปรุงแก้ไข หรือเพิ่มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในจุดที่การวัดค่ามักจะทำได้ยาก เช่น การวัดความพึงพอใจต่อการให้บริการ

ในวงการบัญชีบริหารนั้น ก็มีการพัฒนาวิชาชีพ โดยมีการรวมตัวกันเป็นองค์กรวิชาชีพเป็นเครือข่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ มีองค์กรที่ชื่อว่า CIMA หรือ The Chartered Institute of Management Accountants และ Institute of Management Accountants เป็นเสมือนสถาบันของนักบัญชีบริหารนั่นเอง บุคคลที่ประกอบอาชีพในด้านนี้ก็มีใบอนุญาตที่เรียกกันว่า CMA หรือ Certified Management Accountant ก็เหมือนกับในวงการผู้สอบบัญชีที่มี CPA และ CA ที่ย่อมาจาก Certified Public Accountant และ Chartered Accountant ตามลำดับ

บริษัทขนาดกลาง ถึง ขนาดใหญ่ จะมีฝ่ายบัญชีบริหารแยกต่างหากจากฝ่ายบัญชีการเงิน เพื่อนำข้อมูลในงบการเงินมาจัดทำบัญชีบริหาร บางแห่งที่เป็นบริษัทข้ามชาติ ฝ่ายบัญชีบริหารอาจจะมีหน้าที่เพิ่มเติม คือเป็นหน่วยงานที่ต้องปรับปรุงงบการเงินจากบัญชีการเงิน ให้อยู่ในรูปแบบตามมาตรฐานการบัญชีสากล หรือ มาตรฐานการบัญชีเฉพาะของประเทศใดประเทศหนึ่งต่างหากจากมาตรฐานการบัญชีท้องถิ่นก็มี

การบัญชีการเงินนั้น มีมาตรฐานการบัญชีเป็นตัวกำกับ อยู่ในรูปแบบที่เป็นตัวเลขและจำนวนเงิน มีรูปแบบการรายงานตามมาตรฐานการบัญชี แต่การบัญชีบริหารนั้น ใช้วิธีการวิเคราะห์รายงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของฝ่ายบริหาร เป็นอิสระจากหลักการบัญชีทั่วไป โดยรูปแบบของข้อมูลอาจมีหลายลักษณะไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปของตัวเลขเสมอไป การบัญชีบริหารไม่มีหลักการที่แน่นอนตายตัว สามารถเลือกวิเคราะห์ข้อมูลเพียงบางส่วน และใช้ดุลยพินิจในการเลือก รวบรวมข้อมูล และการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์

การบริหารงานในปัจจุบัน บทบาทของการบัญชีบริหารได้ขยายขอบเขตออกไปครอบคลุมเรื่องต่างๆมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ดังที่กล่าวในตอนต้นว่า เทคนิคและเครื่องมือต่างๆที่มีการคิดค้นออกมาใช้ การให้ความสำคัญกับการทำแผนธุรกิจ การทำงบประมาณ การประมาณการกระแสเงินสด การวัดความพึงพอใจของลูกค้า การมุ่งหาจุดอ่อนและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน การผลิต และการให้บริการ การบัญชีบริหาร ซึ่งเดิมที เน้นเพียงเรื่อง ต้นทุนการผลิตสำหรับกิจการที่ผลิตสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์เท่านั้น ปัจจุบันได้มีการขยายขอบเขตมาประยุกต์ใช้เพิ่มเติมในภาคธุรกิจบริการ ความพยายามของมนุษย์ที่จะวัดค่า (Quantify) แม้กับสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้ออกมาเป็นมูลค่าที่เปรียบเทียบกันได้ ย่อมทำให้เกิดการพัฒนากระบวนการการได้มาซึ่งตัวเลขเพื่อเป็นฐานในการประเมินค่าสิ่งต่างๆ แม้จะไม่เป็นตัวเงินก็ตาม

ที่มา : https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=panfah-prajan&month=07-04-2010&group=3&gblog=1 

วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

ติว CPA ที่ไหนดี??

รวบรวมข้อมูลสถานที่ติว ทั้งที่เคยไปติว และจากคำบอกเล่า....

แต่ท้ายที่สุดการสอบผ่านก็ขึ้นอยู่กับความขยันของแต่ละคน

วิชาบัญชี 1+2

1. CPA solution ดร.สมศักดิ์

การสอน : อ.เก่งมว๊าก เฉลยวิชาบัญชีส่วนใหญ่มาจากที่นี่  การสอนค่อนข้างเร็ว ใช้notebook ในการสอน เวลาคำนวณจะใช้ excel ประมาณนี้ เอกสารเรียนใช้หนังสือที่แจกซึ่งมีเนื้อหาครบถ้วน ข้อสอบเก่าเยอะ ในหนังสือจะแสดงเนื้อหาอย่างสรุป ซึ่งจะเน้นข้อสอบมากกว่า ดังนั้นคนที่พื้นฐานบัญชีไม่ดี อาจจะต้องดูหนังสือเล่มอื่นประกอบเพิ่ม

โดยรวมเหมาะกับคนที่พอมีพื้นฐานมาประมาณหนึ่ง สมองสามารถจับหลักได้ดี และมีเวลาทวนเองด้วย เพราะอ.จะไม่ฝึกทำในห้อง เน้นอธิบายโจทย์มากกว่า

ค่าเรียน : 4,500 ต่อวิชา  ลง 2 วิชา 8,500 ถ้ามีหนังสือลดวิชาละ 1,100 ตอนนี้มีสอนแบบ online

ถานที่ :  เป็นบ้านอาจารย์ อยู่ ซ.วชิรธรรมสาธิต bts ปุณณวิถี 15 นาที ร้านอาหารพอมีแต่ไม่เยอะ 

ห้องเรียน : เป็นโต๊ะพับ ไม่แออัดมาก พอเดินได้ ห้องน้ำโอเค


2. CPA Success  อ.ป้อม


การสอน : อ. สอนช้า สอนค่อนข้างละเอียด เน้นทำแบบฝึกหัดในห้องเลย เวลาการสอนต่อคอร์สนานสุด วันละ 8 ชม. ประมาณ 10 ครั้ง และอ.ชอบนอกเรื่องบ่อย+นาน ทำให้เนื้อหาไปค่อนข้างช้า เอกสารการสอนค่อนข้างดี อ่านแล้วเข้าใจง่าย ข้อสอบอาจจะไม่ได้เยอะเท่า ดร.สมศักดิ์ 


เหมาะกับคนที่พื้นฐานไม่ดี และชอบเรียนแบบเรื่อยๆ แต่ส่วนตัวคิดว่าช้า+นอกเรื่องมากเกินไป แต่เอกสารค่อนข้างเข้าใจง่าย

ค่าเรียน : 6,500 ต่อวิชา

สถานที่ : คอนโด สุดซอยรามคำแหง 52/2 คอนโดค่อนข้างเก่า ร้านอาหารมีค่อนข้างเยอะ

ห้องเรียน : เป็นโต๊ะคล้ายโต๊ะพับ แต่พับไม่ได้ และโต๊ะเบียดกันเต็มห้อง ทำให้เวลาลุกลำบาก อึดอัด ห้องน้ำพอใช้


3. อ.นพเกียรติ

การสอน : ยังไม่เคยเรียน แต่มีคนแนะนำเยอะเหมือนกัน

ค่าเรียน : วิชาละ 9,000

สถานที่ : ซอยรามคำแหง 51/2 ใกล้ท่าเรือคลองแสนแสบ

ห้องเรียน :

(ถ้าใครเคยเรียนและอยากให้ข้อมูล รบกวนcomment มาได้เลยครับ)


4. p-squarecpa

การสอน : การเรียนเป็น computer based เรียนผ่านคอมฯ เนื้อหาจะ fix เป็น unit เราสามารถเลือกเรียนเฉพาะหัวข้อก็ได้ หรือจะเรียนเป็นคอร์สก็ได้ ซึ่งไม่สามารถอัดเสียงได้ แต่สามารถเรียนซ้ำได้ 1 ปี ข้อเสียคือเนื่องจากไม่ได้เรียนโดยตรงกับผู้สอน เวลามีคำถามก็จะไม่ได้ถาม

เหมาะกับคนที่ต้องการความสะดวก เวลาไม่แน่นอน หรือสงสัยแค่บางหัวข้อ

ค่าเรียน : วิชาละ 6,500  ลง 2 วิชา 12,000 เรียนแยก 800 ต่อ unit / 5,400 ต่อ 10 unit

สถานที่ : อาคารไทยอาร์ต ใกล้แยกอโศก

ห้องเรียน : เป็น computer based บรรยากาศร้านกาแฟ


5. spaconsult

การสอน : ยังไม่เคยเรียน

ค่าเรียน : วิชาละ 6,500

สถานที่ : ใกล้ bts ราชเทวี

ห้องเรียน :

(ถ้าใครเคยเรียนและอยากให้ข้อมูล รบกวนcomment มาได้เลยครับ)


วิชา กฎหมาย 1+2

1. Penkawin CPA อ.ณัฐสิทธิ์

การสอน : อ.มีความรู้(จบวิศวะ บัญชี กฎหมาย) แต่alertไปหน่อย สอนโดยใช้สไลด์ power point ไม่ค่อยนอกเรื่อง มีquiz บ้าง เน้นบรรยาย ไม่ได้เน้นทำแบบฝึกหัดในห้อง ซึ่งถ้าใครมี clip เสียง กับหนังสือ ก็สามารถอ่านเองได้ โดยรวมคิดว่าวิชากฎหมายที่นี่ดีสุด ณ ตอนนี้

ค่าเรียน : กม.1 4,000 (ก่อนส่วนลด)  กม.2 4,800 (ก่อนส่วนลด)

สถานที่ : ร.ร.กรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย(bbc) ใกล้BTS ราชเทวี ใกล้พันธ์ทิพย์ประตูน้ำ ร้านอาหารพอมีแต่ไม่เยอะ

ห้องเรียน : โต๊ะเรียนยาวนั่งสบายๆได้ 3-4 คน แอร์เย็นมาก ห้องน้ำโรงเรียนมันก็จะซกๆหน่อย


2. spaconsult

การสอน : ยังไม่เคยเรียน

ค่าเรียน : วิชาละ 6,000

สถานที่ : ใกล้ bts ราชเทวี

ห้องเรียน : 

(ถ้าใครเคยเรียนและอยากให้ข้อมูล รบกวนcomment มาได้เลยครับ)


3. PC Center อ.พัฒนา

การสอน : ยังไม่เคยเรียน แต่อ.ทำ clip ใน youtube เรื่องภาษี สรุปโอเคเหมือนกัน

ค่าเรียน :  วิชาละ 3,500

สถานที่ : ซ.รามอินทรา 61

ห้องเรียน : 

(ถ้าใครเคยเรียนและอยากให้ข้อมูล รบกวนcomment มาได้เลยครับ)



วิชา สอบบัญชี 1

1. PC Center อ.พัฒนา

การสอน : ยังไม่เคยเรียน แต่น่าจะดังสุดแล้วตอนนี้

ค่าเรียน : วิชาละ 9,500

สถานที่ : ซ.รามอินทรา 61

ห้องเรียน : 
(ถ้าใครเคยเรียนและอยากให้ข้อมูล รบกวนcomment มาได้เลยครับ)


วิชา สอบบัญชี 2

1. Penkawin CPA อ.ณัฐสิทธิ์

การสอน : อ.มีความรู้(จบวิศวะ บัญชี กฎหมาย) แต่alertไปหน่อย สอนโดยใช้สไลด์ power point ไม่ค่อยนอกเรื่อง มีquiz บ้าง เน้นบรรยาย ไม่ได้เน้นทำแบบฝึกหัดในห้อง ซึ่งถ้าใครมี clip เสียง กับหนังสือ ก็สามารถอ่านเองได้

ค่าเรียน :  3,000 - 3,200

สถานที่ : ร.ร.กรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย(bbc) ใกล้BTS ราชเทวี ใกล้พันธ์ทิพย์ประตูน้ำ ร้านอาหารพอมีแต่ไม่เยอะ

ห้องเรียน : โต๊ะเรียนยาวนั่งสบายๆได้ 3-4 คน แอร์เย็นมาก ห้องน้ำโรงเรียนมันก็จะซกๆหน่อย
(ถ้าใครเคยเรียนและอยากให้ข้อมูล รบกวนcomment มาได้เลยครับ)

2. PC Center อ.พัฒนา

การสอน : ยังไม่เคยเรียน

ค่าเรียน :  3,500

สถานที่ : ซ.รามอินทรา 61

ห้องเรียน : 
(ถ้าใครเคยเรียนและอยากให้ข้อมูล รบกวนcomment มาได้เลยครับ)


สิ่งที่ต่อยอดได้ จากการสอบ CPA

ผลพลอยได้ของการสอบ CPA ก็คือจะมี license อื่นๆ ที่เราสามารถใช้คุณสมบัติของ CPA ทั้งเนื้อหาสอบ เนื้องาน ประสบการทำงาน ฯลฯ ไปสอบเพื่อต่อยอดต่อได้ เสมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว...


1. Tax Auditor - TA

Tax Auditor ครับหรือ TA มีหน้าที่ตรวจสอบและรับรองบัญชี ของ "ห้างหุ้นส่วนขนาดเล็ก"  จัดสอบโดยกรมสรรพากร สอบปีละ 3ครั้ง การสอบแบ่งเป็น 3 วิชา 1.การบัญชี 2.กฎหมายภาษี และ3.วิธีการตรวจสอบ 

ข้อแตกต่างกัน ในภาพรวมของ TA กับ CPA 



2. Diploma in Thai financial reporting : Dip-TFR 

Diploma in Thai Financial Standard หรือ Dip-TFR เป็นประกาศนียบัตรที่รับรองความรู้ทางด้านบัญชีตามมาตรฐานสากล (IFRS) เหมาะสำหรับ ผู้ทำบัญชี  

การสอบประกาศนียบัตรนี้ใช้ความรู้ทางด้าน บัญชี โดยอ้างอิงจากมาตรฐาน TFRS เหมาะสำหรับ ผู้ที่อยู่ในบริษัทมหาชน หรือเครือฯบริษัท ที่ต้องจัดทำงบ conso 

ข้อสอบ  Dip-TFR ครอบคลุมเนื้อหาทั้ง บัญชี 1 และ 2 ของ CPA แต่จะไม่มีเรื่องต้นทุน ข้อสอบออกค่อนข้างซับซ้อนมากกว่า ลึกกว่า CPA แต่มีรูปแบบทำให้สามารถเตรียมตัวสอบได้ ข้อสอบจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนแรกจะเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินรวม 40 คะแนน และส่วนที่สองมี 4 ข้อโดยต้องเลือกทำ 3 ข้อ เป็นข้อสอบเขียนทั้งหมด

ประโยชน์ คือ เป็นการรับรองความรู้ทางด้านบัญชีตามมตรฐานสากล (IFRS) และสามารถใช้คำว่า Dip-TFR ต่อหลังนามบัตรได้ด้วย นอกจากนี้ถ้าคุณสอบคุณจะได้รับเชิญ จากสภาวิชาชีพบัญชีฯ ให้ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และมอบประกาศนียบัตรจากคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง และจะถูกสัมภาษณ์และตีพิมพ์ลงใน วารสารของสภาวิชาชีพในเดือนถัดมา


3. Certified Internal Audit : CIA

CIA คือ ประกาศนียบัตรผู้ตรวจสอบภายในรับอนุญาต จัดสอบโดยสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย (iia)

อันที่จริงไม่มีข้อกำหนดว่าคนสามารถสอบ CIA ได้ต้องจบบัญชี หรือ ทำงานสอบบัญชีมาก่อน แต่ในทางปฏิบัติบริษัทจะเลือกคนที่เคยทำงานด้านการตรวจสอบมาก่อน แต่สำหรับคนเก็บชั่วโมงทางด้านบัญชี เมื่อครบ 2 ปี จะเข้าเงื่อนไขที่จะสามารถเข้าสอบ CIA ได้ (จบป.ตรี + ปสก.ด้านตรวจสอบ 2ปี) 

การสอบเข้าใจว่าเป็นภาษาอังกฤษ แบ่งเป็น 3 parts 1.internal audit basics 2.internal audit practices และ3.internal audit knowledge elements 

มีการจัดอบรมที่สมาคมฯให้ก่อนสอบ (เสียเงิน) อันที่จริงที่สมาคมฯมีประกาศนียบัตรผู้ตรวจสอบภายในของประเทศไทยด้วย CPIAT ซึ่งต้องมีการอบรม (มีค่าอบรม) และทดสอบ (ค่าสอบแยกจากค่าอบรม) แต่ส่วนตัวคิดว่าเลือก CIA ดีกว่า เพราะมีความเป็นสากลมากกว่า

4.ผู้บังคับหลักประกัน

ผู้บังคับหลักประกันกันก่อนว่า ตำแหน่งนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำหน้าที่อะไร และ เกี่ยวอะไรกับ CPA

ที่มาที่ไปของผู้บังคับหลักประกัน : 

สืบเนื่องจาก กฏหมายหลักประกันทางธุรกิจ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่กำหนดให้กิจการต้องมี ผู้บังคับหลักประกัน เพื่อตรวจสอบและประเมิน กำหนดวงเงินหลักประกัน รวมถึงการจัดแจงการจำหน่าย กิจการนั้นๆ

ก็คือผู้ที่จะมายืนยันว่า กิจการที่จะทำธุรกรรมต่างๆนั้น ที่เกี่ยวข้องกับการที่ต้องมีหลักประกัน ก็ต้องมีคนกลางหรือ บคคลที่3 มายืนยันว่า หลักประกันนี้ถูกวัดมูลค่า เหมาะสม และรวมถึงเป็นผู้เดินเรื่อง ถ้าเกิดเหตุที่ต้องจำหน่าย หลักประกันนั้นอีกด้วย

โดยผุ้สอบบัญชีฯ ที่ต่อใบอนุญาตต่อเนื่องมากกว่า 3 ปีขึ้นไป จะเข้าคุณสมบัติที่จะขึ้นทะเบียนเป็น "ผู้บังคับหลักประกัน” ได้ ซึ่งไม่ต้องสอบใหม่แต่อย่างใด เพียงเข้าอบรม 2 วิชาตามกรมพัฒฯ กำหนด

หน้าที่ของผู้บังคับหลักประกัน

หน้าที่ของผู้บังคับหลักประกันคร่าวๆ ตามประกาศของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็ได้บอกไว้ตามนี้




5. Certified Financial Planner : CFP

CFP คือ คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน(บุคคล) จัดสอบโดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ซึ่งครอบคลุมทั้งการให้คำปรึกษาและจัดทำแผนการเงิน เช่น แผนการเกษียณ เป็นต้น 

การขึ้นทะเบียน CFP ต้อง 1.ผ่านการอบรม 6 วิชา (วิชาละ 10,000)  2.การสอบ 5 ชุด (รวม 15,500) และ3.มีประสบการณ์ตามเกณฑ์ 3 ปี ซึ่งถ้าเราขึ้นทะเบียน CPA แล้วเราสามารถขอสิทธิ์เข้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรมทั้ง 6 วิชาได้ (แต่จ่ายค่าธรรมเนียม 5,350) ซึ่งทำให้เราประหยัดค่าอบรมไปประมาณ 55,000 บาท!!!

เมื่อเราสอบผ่านแล้วสามารถใช้เครื่องหมาย CFP®  ในนามบัตรได้

ดัดแปลงและสรุปจาก http://whollyhall.blogspot.com

ก้าวแรกสู่ CPA : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

ก้าวแรกสู่ CPA : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต


สำหรับกระทู้นี้จะแชร์วิธีการ วางแผน เตรียมตัว ในการสอบ CPA ของคนที่สามารถสอบได้ใน 4 ครั้งติดกัน ซึ่งกินเวลาประมาณ 1 ปี 3 เดือน โดยเริ่มสอบได้จากวิชา กฏหมาย 1 ในครั้งแรก, และตามมาด้วย กฏหมาย 2 ในครั้งถัดมา, วิชาการบัญชี 1 และ 2 ในครั้งที่สาม, และสุดท้ายกับวิชาการสอบบัญชี 1 และ 2 ในครั้งที่สี

เราจะแบ่งเวลาอย่างไร เตรียมตัวอย่างไร ขั้นตอนวิธีการเตรียมตัวในมุมของผมครับ โดยจะแบ่งเป็นหลายๆตอนนะครับ และขอเริ่มด้วยขั้นแรกคือ

1. ตั้งเป้าหมาย

อันดับแรกเราต้อง ตั้งเป้าหมายของเราว่า เราจะสอบ CPA ภายในกี่ปี รวมถึง ในแต่ละครั้งการสอบเราจะลงสอบวิชาใดบ้าง

การกำหนดเวลานี้คือ เพื่อนๆจะต้องกำหนดไปเลยว่า เราจะต้องสอบ CPA นี้ให้ได้ภายใน X ปี และเขียนมันเอาไว้ในห้องนอน หรือถ่ายรูปเอาไว้หน้าจอโทรศัพท์ หรืออะไรก้ได้ที่จะคอยเตือนคุณว่าคุณได้ สัญญา กับตัวเองแล้วว่าจะสอบ CPA ให้สำเร็จภายในกี่ปี เพื่อไม่เป็นการทรยศตัวเอง

พอเราได้แล้วว่า เราจะสอบ CPA ภายใน X ปีนะ ขั้นถัดมาคือ วางแผนการสอบแต่ละครั้ง ว่าเราจะต้องได้วิชาใดบ้าง ในครั้งนั้นๆ

สรุปในขั้นแรก
1. บอกตัวเองว่า เราทำได้ เราทำได้ เราทำได้ (เอาให้มีภาพ มีความรู้สึกในหัวด้วยนะครับ)
2. กำหนดแผนระยะยาว ว่าเราจะต้องสอบ CPA นี้ให้ได้ภายใน XX ปี
3. กำหนดแผนระยะสั้นในแต่ละครั้งการสอบ ว่าเราจะต้องสอบวิชาใดบ้างในการสอบแต่ละครั้ง


2. การบริหารเวลา

เราการบริหารเวลาที่มีอยู่น้อยนิด....อย่างไร

1. ตื่น :

เวลา 6.00น อ่านหนังสือ ในส่วนที่เป็น "เนื้อหา" เช่น ในวิชากฏหมายผผมก็จะอ่านหลักกฏหมายส่วนที่ต้องใช้การท่องจำเป็นหลัก หรือในวิชาบัญชี ผมก็จะอ่านหลักการที่ต้องอาศัยการท่องจำ โดยจะแยกการทำโจทย์ หรือวิเคราะห์ ไว้ช่วงเย็นหลังเลิกงานแทน

ส่วนของ "เนื้อหา" ที่อาศัยการท่องจำ โดยส่วนนี้ผมจะท่องเป็นส่วนมาก และยังไม่ทำโจทย์ในช่วงเช้านี้


2. ระหว่างเดินทางไปทำงาน : 

ในช่วงนี้ใช้วิธีการ "ฟังคลิป" ระหว่างการเดินทางไปทำงาน พบว่ามันจำได้จริงๆ และหลังจากที่เพื่อนๆฟังคลิปเสียงเสร็จ หรือเพื่อนบางท่านไม่ได้มีคลิปดังกล่าว สามารถใช้วิธี "อัดเสียงตัวเอง" ลงไปได้ครับ เพราะผมเจอปัญหาที่ว่า เราจะจำ ข้อกำหนด ตัวบทกฏหมาย ยังไงให้มันหมด โดยเฉพาะวิชา กฏหมาย2 ซึ่งคงรู้กันดีว่ามีตัวกฏหมายเยอะมากในส่วนที่เกี่ยวกับภาษี สิ่งที่ผมทำคืออัดเสียงในส่วนที่ต้องท่องจำหนักๆลงในมือถือ เช่น มาตรา 65ทวิ ประกอบด้วย 65ทวิ วงเล็บ ....ก็พูดไปครับ เอาเป็นภาษาที่ตัวเองเข้าใจ เพราะเราเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่จำ


3. ระหว่างทำงาน : 

ในช่วงเวลา "ว่าง" ถ้าเรามั่นใจว่างานที่เราทำเสร็จทันเวลา และไม่มีงานคั่งค้างเหลืออยู่ ผมก็มักจะเอาไฟล์เสียงโหลดลง Dropbox เพื่อเปิดใส่หูฟังในคอมพิวเตอร์ระหว่างวัน เพื่อเป็นการย้ำเตือนตาม คอนเส็บที่กล่าวไว้ในข้อที่ 2 และผมดาวโหลด ไฟล์ เช่นหนังสือ ตำรา ชีทเรียน หรือแม้กระทั่ง มาตรฐานการบัญชี ไว้ใน Dropbox ของผมครับ เพื่อทำการเปิดมาอ่านได้ระหว่างวัน


4. หลังเลิกงาน : 

พยายามทำให้งานเสร็จไม่เกิน 6 โมงเย็น สำหรับช่วงปกติ และไม่เกิน สามทุ่ม สำหรับช่วงพีค หรือใช้เวลาตอนกลางวันเปิดคลิปที่อัดไว้ในคอมฯ หรือไฟล์ตำราที่ดาวโหลดไว้ ขึ้นมาอ่าน ซึ่งวิธีนี้ทำให้ได้เวลาเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ชม ต่อวัน และทำงานเพื่อที่ให้เสร็จเร็วที่สุด เพื่อจะได้เอาเวลาไปอ่านหนังสือต่อ

หลังเลิกงานหาร้านกาแฟ ใกล้ๆออฟฟิตลูกค้าในการ 1.ฟังคลิปเสียง หรือ 2.ฝึกโจทย์สำหรับวิชาต่างๆ (หลังจากที่ผม ฟังคลิปเรียนเสร็จแล้ว) โดยระหว่างการฟังคลิปจะทำการ จดโน้ตย่อ หรือถ้าวิชาไหนมีชีท ก็ทำการเขียนลงไปในชีท และพอเราเรียนจบ ผมก็ทำการฝึกฝนโจทย์ 

และการอ่าน ต้องตั้งเป้าว่าวันนี้ต้องทำบทนี้ให้จบ อย่า! ตั้งเป้าว่าวันนี้จะอ่าน x ชั่วโมง

วิชาการบัญชี 1+2   : ผมใช้หนังสือที่รวบรวมโจทย์ของ อาจารย์ สศ

วิชากฏหมาย         : ผมอ่านจาก ชีทสรุปหลักกฏหมายของอาจารย์ พกว โดยอ่านตามที่อาจารย์บรรยายและ ฝึกโจทย์เก่าไปมากๆ

วิชาการสอบบัญชี 1 : ซึ่งออกสอบเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบต่าง ตรงส่วนนี้ผมว่าเราชาวออดิทต้อง อาศัยสิ่งที่ทำงานมาในการตอบครับ เพราะประสบการณืเราจะบอกเองว่า ตรงจุดหรือเหตุการณ์นั้นๆ จะใช้วิธีการตรวจสอบอย่างไรดี

วิชาการสอบบัญชี 2 : ซึ่งมักออกเกี่ยวกับการเขียนหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีฯ ตรงจุดนี้ผมแนะนำให้หาคลิปติวมาฟังเพราะจะช่วยสรุป หน้ารายงานในแบบต่างๆ ให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ หรือถ้าไม่อยากเรียนผมเห็นเพื่อนบางคน ใช้วิธีดาวโหลด มาตรฐานการสอบบัญชีจากเว็บไซต์ สภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งฟรี และค่อนข้างตรง มาอ่านเองครับ บวกกับ ดาวโหลดหน้ารายงานของจริงซึ่งหาได้ทั่วไปในเว็บไซต์ของบริษัทต่างๆมาดู เพราะมันจะคล้ายคลึงกันแทบทุกที่ ลองดาวโหลดมาเปรียบเทียบกันดูนะครับผม (ในเว็บของสภาวิชาชีพบัญชี จะบอกเกี่ยวกับขอบเขตการสอบ ซึ่งมีประโยชน์มากเพราะในแผ่นนั้น จะบอกมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อๆก็ดาวโหลดมาอ่านได้ตามนั้นเลยครับ เหมือนเรามีสารบัญไว้ให้ฟรีๆ อยู่แล้ว)


5.กลับถึงบ้าน : 

กลับถึงบ้านประมาณ สี่ทุ่ม ถึงห้ามทุ่ม ช่วงนี้คือการพักผ่อน หรือถ้าจะอ่าน จะอ่านเฉพาะของเก่า ในส่วนเนื้อหาที่เราแม่นแล้ว เพื่อไม่เป็นการลืม แต่จะไม่แตะเนื้อหาใหม่ๆเด็ดขาด และจะเข้านอนไม่เกิน เที่ยงคืน


**สรุป**
1. ขอย้ำว่าต้องรู้ครับว่าเราจะสอบอะไร เมื่อไหร่ ไม่งั้นจะไม่มีทางบังคับตัวเองให้อ่านได้แน่นอน
2. ตื่นนอน / เดินทาง / ระหว่างทำงาน / หลังเลิกงาน มีขุมทรัพย์ซ่อนอยู่ทั้งสิ้น หาให้เจอครับ
3. รู้ขอบเขต > หาอาวุธ (หนังสือ คลิปติว)
4. อ่าน > เข้าใจ > ท่อง > ฝึกแบบฝึกหัด
5. ทำข้อ 4 อีกอย่างน้อยสามรอบ

สรุปบทความจาก whollyhall.blogspot.com

เกริ่น...

เกริ่น....

blog นี้ผมสร้างขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้ในการสอบ CPA (ของตัวเอง)  โดยจะรวบรวมวิธีการจากคนอื่นที่เคยสอบผ่าน ทั้งเทคนิค การเตรียมตัวต่างๆ และผมอาจมีการสรุปย่อเนื้อหาเอาไว้เพื่ออ่านเอง รวมถึงบทความที่น่าจะใจ

ดังนั้น blog นี้คือพื้นที่ของข้อมูลที่ผมต้องการเอาเข้าไปในหัวของผมนั่นเอง 

Toefl by Rath Panyowat

by Rath Panyowat  Step 1: Build vocabulary หาหนังสือ vocab แล้วนำศัพท์ไปประเมินในเวป vocabulary.com ถ้าต่ำกว่า 1000 "ต้องรู้"...