วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

ติว CPA ที่ไหนดี??

รวบรวมข้อมูลสถานที่ติว ทั้งที่เคยไปติว และจากคำบอกเล่า....

แต่ท้ายที่สุดการสอบผ่านก็ขึ้นอยู่กับความขยันของแต่ละคน

วิชาบัญชี 1+2

1. CPA solution ดร.สมศักดิ์

การสอน : อ.เก่งมว๊าก เฉลยวิชาบัญชีส่วนใหญ่มาจากที่นี่  การสอนค่อนข้างเร็ว ใช้notebook ในการสอน เวลาคำนวณจะใช้ excel ประมาณนี้ เอกสารเรียนใช้หนังสือที่แจกซึ่งมีเนื้อหาครบถ้วน ข้อสอบเก่าเยอะ ในหนังสือจะแสดงเนื้อหาอย่างสรุป ซึ่งจะเน้นข้อสอบมากกว่า ดังนั้นคนที่พื้นฐานบัญชีไม่ดี อาจจะต้องดูหนังสือเล่มอื่นประกอบเพิ่ม

โดยรวมเหมาะกับคนที่พอมีพื้นฐานมาประมาณหนึ่ง สมองสามารถจับหลักได้ดี และมีเวลาทวนเองด้วย เพราะอ.จะไม่ฝึกทำในห้อง เน้นอธิบายโจทย์มากกว่า

ค่าเรียน : 4,500 ต่อวิชา  ลง 2 วิชา 8,500 ถ้ามีหนังสือลดวิชาละ 1,100 ตอนนี้มีสอนแบบ online

ถานที่ :  เป็นบ้านอาจารย์ อยู่ ซ.วชิรธรรมสาธิต bts ปุณณวิถี 15 นาที ร้านอาหารพอมีแต่ไม่เยอะ 

ห้องเรียน : เป็นโต๊ะพับ ไม่แออัดมาก พอเดินได้ ห้องน้ำโอเค


2. CPA Success  อ.ป้อม


การสอน : อ. สอนช้า สอนค่อนข้างละเอียด เน้นทำแบบฝึกหัดในห้องเลย เวลาการสอนต่อคอร์สนานสุด วันละ 8 ชม. ประมาณ 10 ครั้ง และอ.ชอบนอกเรื่องบ่อย+นาน ทำให้เนื้อหาไปค่อนข้างช้า เอกสารการสอนค่อนข้างดี อ่านแล้วเข้าใจง่าย ข้อสอบอาจจะไม่ได้เยอะเท่า ดร.สมศักดิ์ 


เหมาะกับคนที่พื้นฐานไม่ดี และชอบเรียนแบบเรื่อยๆ แต่ส่วนตัวคิดว่าช้า+นอกเรื่องมากเกินไป แต่เอกสารค่อนข้างเข้าใจง่าย

ค่าเรียน : 6,500 ต่อวิชา

สถานที่ : คอนโด สุดซอยรามคำแหง 52/2 คอนโดค่อนข้างเก่า ร้านอาหารมีค่อนข้างเยอะ

ห้องเรียน : เป็นโต๊ะคล้ายโต๊ะพับ แต่พับไม่ได้ และโต๊ะเบียดกันเต็มห้อง ทำให้เวลาลุกลำบาก อึดอัด ห้องน้ำพอใช้


3. อ.นพเกียรติ

การสอน : ยังไม่เคยเรียน แต่มีคนแนะนำเยอะเหมือนกัน

ค่าเรียน : วิชาละ 9,000

สถานที่ : ซอยรามคำแหง 51/2 ใกล้ท่าเรือคลองแสนแสบ

ห้องเรียน :

(ถ้าใครเคยเรียนและอยากให้ข้อมูล รบกวนcomment มาได้เลยครับ)


4. p-squarecpa

การสอน : การเรียนเป็น computer based เรียนผ่านคอมฯ เนื้อหาจะ fix เป็น unit เราสามารถเลือกเรียนเฉพาะหัวข้อก็ได้ หรือจะเรียนเป็นคอร์สก็ได้ ซึ่งไม่สามารถอัดเสียงได้ แต่สามารถเรียนซ้ำได้ 1 ปี ข้อเสียคือเนื่องจากไม่ได้เรียนโดยตรงกับผู้สอน เวลามีคำถามก็จะไม่ได้ถาม

เหมาะกับคนที่ต้องการความสะดวก เวลาไม่แน่นอน หรือสงสัยแค่บางหัวข้อ

ค่าเรียน : วิชาละ 6,500  ลง 2 วิชา 12,000 เรียนแยก 800 ต่อ unit / 5,400 ต่อ 10 unit

สถานที่ : อาคารไทยอาร์ต ใกล้แยกอโศก

ห้องเรียน : เป็น computer based บรรยากาศร้านกาแฟ


5. spaconsult

การสอน : ยังไม่เคยเรียน

ค่าเรียน : วิชาละ 6,500

สถานที่ : ใกล้ bts ราชเทวี

ห้องเรียน :

(ถ้าใครเคยเรียนและอยากให้ข้อมูล รบกวนcomment มาได้เลยครับ)


วิชา กฎหมาย 1+2

1. Penkawin CPA อ.ณัฐสิทธิ์

การสอน : อ.มีความรู้(จบวิศวะ บัญชี กฎหมาย) แต่alertไปหน่อย สอนโดยใช้สไลด์ power point ไม่ค่อยนอกเรื่อง มีquiz บ้าง เน้นบรรยาย ไม่ได้เน้นทำแบบฝึกหัดในห้อง ซึ่งถ้าใครมี clip เสียง กับหนังสือ ก็สามารถอ่านเองได้ โดยรวมคิดว่าวิชากฎหมายที่นี่ดีสุด ณ ตอนนี้

ค่าเรียน : กม.1 4,000 (ก่อนส่วนลด)  กม.2 4,800 (ก่อนส่วนลด)

สถานที่ : ร.ร.กรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย(bbc) ใกล้BTS ราชเทวี ใกล้พันธ์ทิพย์ประตูน้ำ ร้านอาหารพอมีแต่ไม่เยอะ

ห้องเรียน : โต๊ะเรียนยาวนั่งสบายๆได้ 3-4 คน แอร์เย็นมาก ห้องน้ำโรงเรียนมันก็จะซกๆหน่อย


2. spaconsult

การสอน : ยังไม่เคยเรียน

ค่าเรียน : วิชาละ 6,000

สถานที่ : ใกล้ bts ราชเทวี

ห้องเรียน : 

(ถ้าใครเคยเรียนและอยากให้ข้อมูล รบกวนcomment มาได้เลยครับ)


3. PC Center อ.พัฒนา

การสอน : ยังไม่เคยเรียน แต่อ.ทำ clip ใน youtube เรื่องภาษี สรุปโอเคเหมือนกัน

ค่าเรียน :  วิชาละ 3,500

สถานที่ : ซ.รามอินทรา 61

ห้องเรียน : 

(ถ้าใครเคยเรียนและอยากให้ข้อมูล รบกวนcomment มาได้เลยครับ)



วิชา สอบบัญชี 1

1. PC Center อ.พัฒนา

การสอน : ยังไม่เคยเรียน แต่น่าจะดังสุดแล้วตอนนี้

ค่าเรียน : วิชาละ 9,500

สถานที่ : ซ.รามอินทรา 61

ห้องเรียน : 
(ถ้าใครเคยเรียนและอยากให้ข้อมูล รบกวนcomment มาได้เลยครับ)


วิชา สอบบัญชี 2

1. Penkawin CPA อ.ณัฐสิทธิ์

การสอน : อ.มีความรู้(จบวิศวะ บัญชี กฎหมาย) แต่alertไปหน่อย สอนโดยใช้สไลด์ power point ไม่ค่อยนอกเรื่อง มีquiz บ้าง เน้นบรรยาย ไม่ได้เน้นทำแบบฝึกหัดในห้อง ซึ่งถ้าใครมี clip เสียง กับหนังสือ ก็สามารถอ่านเองได้

ค่าเรียน :  3,000 - 3,200

สถานที่ : ร.ร.กรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย(bbc) ใกล้BTS ราชเทวี ใกล้พันธ์ทิพย์ประตูน้ำ ร้านอาหารพอมีแต่ไม่เยอะ

ห้องเรียน : โต๊ะเรียนยาวนั่งสบายๆได้ 3-4 คน แอร์เย็นมาก ห้องน้ำโรงเรียนมันก็จะซกๆหน่อย
(ถ้าใครเคยเรียนและอยากให้ข้อมูล รบกวนcomment มาได้เลยครับ)

2. PC Center อ.พัฒนา

การสอน : ยังไม่เคยเรียน

ค่าเรียน :  3,500

สถานที่ : ซ.รามอินทรา 61

ห้องเรียน : 
(ถ้าใครเคยเรียนและอยากให้ข้อมูล รบกวนcomment มาได้เลยครับ)


สิ่งที่ต่อยอดได้ จากการสอบ CPA

ผลพลอยได้ของการสอบ CPA ก็คือจะมี license อื่นๆ ที่เราสามารถใช้คุณสมบัติของ CPA ทั้งเนื้อหาสอบ เนื้องาน ประสบการทำงาน ฯลฯ ไปสอบเพื่อต่อยอดต่อได้ เสมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว...


1. Tax Auditor - TA

Tax Auditor ครับหรือ TA มีหน้าที่ตรวจสอบและรับรองบัญชี ของ "ห้างหุ้นส่วนขนาดเล็ก"  จัดสอบโดยกรมสรรพากร สอบปีละ 3ครั้ง การสอบแบ่งเป็น 3 วิชา 1.การบัญชี 2.กฎหมายภาษี และ3.วิธีการตรวจสอบ 

ข้อแตกต่างกัน ในภาพรวมของ TA กับ CPA 



2. Diploma in Thai financial reporting : Dip-TFR 

Diploma in Thai Financial Standard หรือ Dip-TFR เป็นประกาศนียบัตรที่รับรองความรู้ทางด้านบัญชีตามมาตรฐานสากล (IFRS) เหมาะสำหรับ ผู้ทำบัญชี  

การสอบประกาศนียบัตรนี้ใช้ความรู้ทางด้าน บัญชี โดยอ้างอิงจากมาตรฐาน TFRS เหมาะสำหรับ ผู้ที่อยู่ในบริษัทมหาชน หรือเครือฯบริษัท ที่ต้องจัดทำงบ conso 

ข้อสอบ  Dip-TFR ครอบคลุมเนื้อหาทั้ง บัญชี 1 และ 2 ของ CPA แต่จะไม่มีเรื่องต้นทุน ข้อสอบออกค่อนข้างซับซ้อนมากกว่า ลึกกว่า CPA แต่มีรูปแบบทำให้สามารถเตรียมตัวสอบได้ ข้อสอบจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนแรกจะเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินรวม 40 คะแนน และส่วนที่สองมี 4 ข้อโดยต้องเลือกทำ 3 ข้อ เป็นข้อสอบเขียนทั้งหมด

ประโยชน์ คือ เป็นการรับรองความรู้ทางด้านบัญชีตามมตรฐานสากล (IFRS) และสามารถใช้คำว่า Dip-TFR ต่อหลังนามบัตรได้ด้วย นอกจากนี้ถ้าคุณสอบคุณจะได้รับเชิญ จากสภาวิชาชีพบัญชีฯ ให้ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และมอบประกาศนียบัตรจากคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง และจะถูกสัมภาษณ์และตีพิมพ์ลงใน วารสารของสภาวิชาชีพในเดือนถัดมา


3. Certified Internal Audit : CIA

CIA คือ ประกาศนียบัตรผู้ตรวจสอบภายในรับอนุญาต จัดสอบโดยสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย (iia)

อันที่จริงไม่มีข้อกำหนดว่าคนสามารถสอบ CIA ได้ต้องจบบัญชี หรือ ทำงานสอบบัญชีมาก่อน แต่ในทางปฏิบัติบริษัทจะเลือกคนที่เคยทำงานด้านการตรวจสอบมาก่อน แต่สำหรับคนเก็บชั่วโมงทางด้านบัญชี เมื่อครบ 2 ปี จะเข้าเงื่อนไขที่จะสามารถเข้าสอบ CIA ได้ (จบป.ตรี + ปสก.ด้านตรวจสอบ 2ปี) 

การสอบเข้าใจว่าเป็นภาษาอังกฤษ แบ่งเป็น 3 parts 1.internal audit basics 2.internal audit practices และ3.internal audit knowledge elements 

มีการจัดอบรมที่สมาคมฯให้ก่อนสอบ (เสียเงิน) อันที่จริงที่สมาคมฯมีประกาศนียบัตรผู้ตรวจสอบภายในของประเทศไทยด้วย CPIAT ซึ่งต้องมีการอบรม (มีค่าอบรม) และทดสอบ (ค่าสอบแยกจากค่าอบรม) แต่ส่วนตัวคิดว่าเลือก CIA ดีกว่า เพราะมีความเป็นสากลมากกว่า

4.ผู้บังคับหลักประกัน

ผู้บังคับหลักประกันกันก่อนว่า ตำแหน่งนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำหน้าที่อะไร และ เกี่ยวอะไรกับ CPA

ที่มาที่ไปของผู้บังคับหลักประกัน : 

สืบเนื่องจาก กฏหมายหลักประกันทางธุรกิจ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่กำหนดให้กิจการต้องมี ผู้บังคับหลักประกัน เพื่อตรวจสอบและประเมิน กำหนดวงเงินหลักประกัน รวมถึงการจัดแจงการจำหน่าย กิจการนั้นๆ

ก็คือผู้ที่จะมายืนยันว่า กิจการที่จะทำธุรกรรมต่างๆนั้น ที่เกี่ยวข้องกับการที่ต้องมีหลักประกัน ก็ต้องมีคนกลางหรือ บคคลที่3 มายืนยันว่า หลักประกันนี้ถูกวัดมูลค่า เหมาะสม และรวมถึงเป็นผู้เดินเรื่อง ถ้าเกิดเหตุที่ต้องจำหน่าย หลักประกันนั้นอีกด้วย

โดยผุ้สอบบัญชีฯ ที่ต่อใบอนุญาตต่อเนื่องมากกว่า 3 ปีขึ้นไป จะเข้าคุณสมบัติที่จะขึ้นทะเบียนเป็น "ผู้บังคับหลักประกัน” ได้ ซึ่งไม่ต้องสอบใหม่แต่อย่างใด เพียงเข้าอบรม 2 วิชาตามกรมพัฒฯ กำหนด

หน้าที่ของผู้บังคับหลักประกัน

หน้าที่ของผู้บังคับหลักประกันคร่าวๆ ตามประกาศของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็ได้บอกไว้ตามนี้




5. Certified Financial Planner : CFP

CFP คือ คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน(บุคคล) จัดสอบโดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ซึ่งครอบคลุมทั้งการให้คำปรึกษาและจัดทำแผนการเงิน เช่น แผนการเกษียณ เป็นต้น 

การขึ้นทะเบียน CFP ต้อง 1.ผ่านการอบรม 6 วิชา (วิชาละ 10,000)  2.การสอบ 5 ชุด (รวม 15,500) และ3.มีประสบการณ์ตามเกณฑ์ 3 ปี ซึ่งถ้าเราขึ้นทะเบียน CPA แล้วเราสามารถขอสิทธิ์เข้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรมทั้ง 6 วิชาได้ (แต่จ่ายค่าธรรมเนียม 5,350) ซึ่งทำให้เราประหยัดค่าอบรมไปประมาณ 55,000 บาท!!!

เมื่อเราสอบผ่านแล้วสามารถใช้เครื่องหมาย CFP®  ในนามบัตรได้

ดัดแปลงและสรุปจาก http://whollyhall.blogspot.com

ก้าวแรกสู่ CPA : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

ก้าวแรกสู่ CPA : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต


สำหรับกระทู้นี้จะแชร์วิธีการ วางแผน เตรียมตัว ในการสอบ CPA ของคนที่สามารถสอบได้ใน 4 ครั้งติดกัน ซึ่งกินเวลาประมาณ 1 ปี 3 เดือน โดยเริ่มสอบได้จากวิชา กฏหมาย 1 ในครั้งแรก, และตามมาด้วย กฏหมาย 2 ในครั้งถัดมา, วิชาการบัญชี 1 และ 2 ในครั้งที่สาม, และสุดท้ายกับวิชาการสอบบัญชี 1 และ 2 ในครั้งที่สี

เราจะแบ่งเวลาอย่างไร เตรียมตัวอย่างไร ขั้นตอนวิธีการเตรียมตัวในมุมของผมครับ โดยจะแบ่งเป็นหลายๆตอนนะครับ และขอเริ่มด้วยขั้นแรกคือ

1. ตั้งเป้าหมาย

อันดับแรกเราต้อง ตั้งเป้าหมายของเราว่า เราจะสอบ CPA ภายในกี่ปี รวมถึง ในแต่ละครั้งการสอบเราจะลงสอบวิชาใดบ้าง

การกำหนดเวลานี้คือ เพื่อนๆจะต้องกำหนดไปเลยว่า เราจะต้องสอบ CPA นี้ให้ได้ภายใน X ปี และเขียนมันเอาไว้ในห้องนอน หรือถ่ายรูปเอาไว้หน้าจอโทรศัพท์ หรืออะไรก้ได้ที่จะคอยเตือนคุณว่าคุณได้ สัญญา กับตัวเองแล้วว่าจะสอบ CPA ให้สำเร็จภายในกี่ปี เพื่อไม่เป็นการทรยศตัวเอง

พอเราได้แล้วว่า เราจะสอบ CPA ภายใน X ปีนะ ขั้นถัดมาคือ วางแผนการสอบแต่ละครั้ง ว่าเราจะต้องได้วิชาใดบ้าง ในครั้งนั้นๆ

สรุปในขั้นแรก
1. บอกตัวเองว่า เราทำได้ เราทำได้ เราทำได้ (เอาให้มีภาพ มีความรู้สึกในหัวด้วยนะครับ)
2. กำหนดแผนระยะยาว ว่าเราจะต้องสอบ CPA นี้ให้ได้ภายใน XX ปี
3. กำหนดแผนระยะสั้นในแต่ละครั้งการสอบ ว่าเราจะต้องสอบวิชาใดบ้างในการสอบแต่ละครั้ง


2. การบริหารเวลา

เราการบริหารเวลาที่มีอยู่น้อยนิด....อย่างไร

1. ตื่น :

เวลา 6.00น อ่านหนังสือ ในส่วนที่เป็น "เนื้อหา" เช่น ในวิชากฏหมายผผมก็จะอ่านหลักกฏหมายส่วนที่ต้องใช้การท่องจำเป็นหลัก หรือในวิชาบัญชี ผมก็จะอ่านหลักการที่ต้องอาศัยการท่องจำ โดยจะแยกการทำโจทย์ หรือวิเคราะห์ ไว้ช่วงเย็นหลังเลิกงานแทน

ส่วนของ "เนื้อหา" ที่อาศัยการท่องจำ โดยส่วนนี้ผมจะท่องเป็นส่วนมาก และยังไม่ทำโจทย์ในช่วงเช้านี้


2. ระหว่างเดินทางไปทำงาน : 

ในช่วงนี้ใช้วิธีการ "ฟังคลิป" ระหว่างการเดินทางไปทำงาน พบว่ามันจำได้จริงๆ และหลังจากที่เพื่อนๆฟังคลิปเสียงเสร็จ หรือเพื่อนบางท่านไม่ได้มีคลิปดังกล่าว สามารถใช้วิธี "อัดเสียงตัวเอง" ลงไปได้ครับ เพราะผมเจอปัญหาที่ว่า เราจะจำ ข้อกำหนด ตัวบทกฏหมาย ยังไงให้มันหมด โดยเฉพาะวิชา กฏหมาย2 ซึ่งคงรู้กันดีว่ามีตัวกฏหมายเยอะมากในส่วนที่เกี่ยวกับภาษี สิ่งที่ผมทำคืออัดเสียงในส่วนที่ต้องท่องจำหนักๆลงในมือถือ เช่น มาตรา 65ทวิ ประกอบด้วย 65ทวิ วงเล็บ ....ก็พูดไปครับ เอาเป็นภาษาที่ตัวเองเข้าใจ เพราะเราเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่จำ


3. ระหว่างทำงาน : 

ในช่วงเวลา "ว่าง" ถ้าเรามั่นใจว่างานที่เราทำเสร็จทันเวลา และไม่มีงานคั่งค้างเหลืออยู่ ผมก็มักจะเอาไฟล์เสียงโหลดลง Dropbox เพื่อเปิดใส่หูฟังในคอมพิวเตอร์ระหว่างวัน เพื่อเป็นการย้ำเตือนตาม คอนเส็บที่กล่าวไว้ในข้อที่ 2 และผมดาวโหลด ไฟล์ เช่นหนังสือ ตำรา ชีทเรียน หรือแม้กระทั่ง มาตรฐานการบัญชี ไว้ใน Dropbox ของผมครับ เพื่อทำการเปิดมาอ่านได้ระหว่างวัน


4. หลังเลิกงาน : 

พยายามทำให้งานเสร็จไม่เกิน 6 โมงเย็น สำหรับช่วงปกติ และไม่เกิน สามทุ่ม สำหรับช่วงพีค หรือใช้เวลาตอนกลางวันเปิดคลิปที่อัดไว้ในคอมฯ หรือไฟล์ตำราที่ดาวโหลดไว้ ขึ้นมาอ่าน ซึ่งวิธีนี้ทำให้ได้เวลาเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ชม ต่อวัน และทำงานเพื่อที่ให้เสร็จเร็วที่สุด เพื่อจะได้เอาเวลาไปอ่านหนังสือต่อ

หลังเลิกงานหาร้านกาแฟ ใกล้ๆออฟฟิตลูกค้าในการ 1.ฟังคลิปเสียง หรือ 2.ฝึกโจทย์สำหรับวิชาต่างๆ (หลังจากที่ผม ฟังคลิปเรียนเสร็จแล้ว) โดยระหว่างการฟังคลิปจะทำการ จดโน้ตย่อ หรือถ้าวิชาไหนมีชีท ก็ทำการเขียนลงไปในชีท และพอเราเรียนจบ ผมก็ทำการฝึกฝนโจทย์ 

และการอ่าน ต้องตั้งเป้าว่าวันนี้ต้องทำบทนี้ให้จบ อย่า! ตั้งเป้าว่าวันนี้จะอ่าน x ชั่วโมง

วิชาการบัญชี 1+2   : ผมใช้หนังสือที่รวบรวมโจทย์ของ อาจารย์ สศ

วิชากฏหมาย         : ผมอ่านจาก ชีทสรุปหลักกฏหมายของอาจารย์ พกว โดยอ่านตามที่อาจารย์บรรยายและ ฝึกโจทย์เก่าไปมากๆ

วิชาการสอบบัญชี 1 : ซึ่งออกสอบเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบต่าง ตรงส่วนนี้ผมว่าเราชาวออดิทต้อง อาศัยสิ่งที่ทำงานมาในการตอบครับ เพราะประสบการณืเราจะบอกเองว่า ตรงจุดหรือเหตุการณ์นั้นๆ จะใช้วิธีการตรวจสอบอย่างไรดี

วิชาการสอบบัญชี 2 : ซึ่งมักออกเกี่ยวกับการเขียนหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีฯ ตรงจุดนี้ผมแนะนำให้หาคลิปติวมาฟังเพราะจะช่วยสรุป หน้ารายงานในแบบต่างๆ ให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ หรือถ้าไม่อยากเรียนผมเห็นเพื่อนบางคน ใช้วิธีดาวโหลด มาตรฐานการสอบบัญชีจากเว็บไซต์ สภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งฟรี และค่อนข้างตรง มาอ่านเองครับ บวกกับ ดาวโหลดหน้ารายงานของจริงซึ่งหาได้ทั่วไปในเว็บไซต์ของบริษัทต่างๆมาดู เพราะมันจะคล้ายคลึงกันแทบทุกที่ ลองดาวโหลดมาเปรียบเทียบกันดูนะครับผม (ในเว็บของสภาวิชาชีพบัญชี จะบอกเกี่ยวกับขอบเขตการสอบ ซึ่งมีประโยชน์มากเพราะในแผ่นนั้น จะบอกมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อๆก็ดาวโหลดมาอ่านได้ตามนั้นเลยครับ เหมือนเรามีสารบัญไว้ให้ฟรีๆ อยู่แล้ว)


5.กลับถึงบ้าน : 

กลับถึงบ้านประมาณ สี่ทุ่ม ถึงห้ามทุ่ม ช่วงนี้คือการพักผ่อน หรือถ้าจะอ่าน จะอ่านเฉพาะของเก่า ในส่วนเนื้อหาที่เราแม่นแล้ว เพื่อไม่เป็นการลืม แต่จะไม่แตะเนื้อหาใหม่ๆเด็ดขาด และจะเข้านอนไม่เกิน เที่ยงคืน


**สรุป**
1. ขอย้ำว่าต้องรู้ครับว่าเราจะสอบอะไร เมื่อไหร่ ไม่งั้นจะไม่มีทางบังคับตัวเองให้อ่านได้แน่นอน
2. ตื่นนอน / เดินทาง / ระหว่างทำงาน / หลังเลิกงาน มีขุมทรัพย์ซ่อนอยู่ทั้งสิ้น หาให้เจอครับ
3. รู้ขอบเขต > หาอาวุธ (หนังสือ คลิปติว)
4. อ่าน > เข้าใจ > ท่อง > ฝึกแบบฝึกหัด
5. ทำข้อ 4 อีกอย่างน้อยสามรอบ

สรุปบทความจาก whollyhall.blogspot.com

เกริ่น...

เกริ่น....

blog นี้ผมสร้างขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้ในการสอบ CPA (ของตัวเอง)  โดยจะรวบรวมวิธีการจากคนอื่นที่เคยสอบผ่าน ทั้งเทคนิค การเตรียมตัวต่างๆ และผมอาจมีการสรุปย่อเนื้อหาเอาไว้เพื่ออ่านเอง รวมถึงบทความที่น่าจะใจ

ดังนั้น blog นี้คือพื้นที่ของข้อมูลที่ผมต้องการเอาเข้าไปในหัวของผมนั่นเอง 

Toefl by Rath Panyowat

by Rath Panyowat  Step 1: Build vocabulary หาหนังสือ vocab แล้วนำศัพท์ไปประเมินในเวป vocabulary.com ถ้าต่ำกว่า 1000 "ต้องรู้"...