วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

สิ่งที่ต่อยอดได้ จากการสอบ CPA

ผลพลอยได้ของการสอบ CPA ก็คือจะมี license อื่นๆ ที่เราสามารถใช้คุณสมบัติของ CPA ทั้งเนื้อหาสอบ เนื้องาน ประสบการทำงาน ฯลฯ ไปสอบเพื่อต่อยอดต่อได้ เสมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว...


1. Tax Auditor - TA

Tax Auditor ครับหรือ TA มีหน้าที่ตรวจสอบและรับรองบัญชี ของ "ห้างหุ้นส่วนขนาดเล็ก"  จัดสอบโดยกรมสรรพากร สอบปีละ 3ครั้ง การสอบแบ่งเป็น 3 วิชา 1.การบัญชี 2.กฎหมายภาษี และ3.วิธีการตรวจสอบ 

ข้อแตกต่างกัน ในภาพรวมของ TA กับ CPA 



2. Diploma in Thai financial reporting : Dip-TFR 

Diploma in Thai Financial Standard หรือ Dip-TFR เป็นประกาศนียบัตรที่รับรองความรู้ทางด้านบัญชีตามมาตรฐานสากล (IFRS) เหมาะสำหรับ ผู้ทำบัญชี  

การสอบประกาศนียบัตรนี้ใช้ความรู้ทางด้าน บัญชี โดยอ้างอิงจากมาตรฐาน TFRS เหมาะสำหรับ ผู้ที่อยู่ในบริษัทมหาชน หรือเครือฯบริษัท ที่ต้องจัดทำงบ conso 

ข้อสอบ  Dip-TFR ครอบคลุมเนื้อหาทั้ง บัญชี 1 และ 2 ของ CPA แต่จะไม่มีเรื่องต้นทุน ข้อสอบออกค่อนข้างซับซ้อนมากกว่า ลึกกว่า CPA แต่มีรูปแบบทำให้สามารถเตรียมตัวสอบได้ ข้อสอบจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนแรกจะเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินรวม 40 คะแนน และส่วนที่สองมี 4 ข้อโดยต้องเลือกทำ 3 ข้อ เป็นข้อสอบเขียนทั้งหมด

ประโยชน์ คือ เป็นการรับรองความรู้ทางด้านบัญชีตามมตรฐานสากล (IFRS) และสามารถใช้คำว่า Dip-TFR ต่อหลังนามบัตรได้ด้วย นอกจากนี้ถ้าคุณสอบคุณจะได้รับเชิญ จากสภาวิชาชีพบัญชีฯ ให้ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และมอบประกาศนียบัตรจากคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง และจะถูกสัมภาษณ์และตีพิมพ์ลงใน วารสารของสภาวิชาชีพในเดือนถัดมา


3. Certified Internal Audit : CIA

CIA คือ ประกาศนียบัตรผู้ตรวจสอบภายในรับอนุญาต จัดสอบโดยสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย (iia)

อันที่จริงไม่มีข้อกำหนดว่าคนสามารถสอบ CIA ได้ต้องจบบัญชี หรือ ทำงานสอบบัญชีมาก่อน แต่ในทางปฏิบัติบริษัทจะเลือกคนที่เคยทำงานด้านการตรวจสอบมาก่อน แต่สำหรับคนเก็บชั่วโมงทางด้านบัญชี เมื่อครบ 2 ปี จะเข้าเงื่อนไขที่จะสามารถเข้าสอบ CIA ได้ (จบป.ตรี + ปสก.ด้านตรวจสอบ 2ปี) 

การสอบเข้าใจว่าเป็นภาษาอังกฤษ แบ่งเป็น 3 parts 1.internal audit basics 2.internal audit practices และ3.internal audit knowledge elements 

มีการจัดอบรมที่สมาคมฯให้ก่อนสอบ (เสียเงิน) อันที่จริงที่สมาคมฯมีประกาศนียบัตรผู้ตรวจสอบภายในของประเทศไทยด้วย CPIAT ซึ่งต้องมีการอบรม (มีค่าอบรม) และทดสอบ (ค่าสอบแยกจากค่าอบรม) แต่ส่วนตัวคิดว่าเลือก CIA ดีกว่า เพราะมีความเป็นสากลมากกว่า

4.ผู้บังคับหลักประกัน

ผู้บังคับหลักประกันกันก่อนว่า ตำแหน่งนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำหน้าที่อะไร และ เกี่ยวอะไรกับ CPA

ที่มาที่ไปของผู้บังคับหลักประกัน : 

สืบเนื่องจาก กฏหมายหลักประกันทางธุรกิจ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่กำหนดให้กิจการต้องมี ผู้บังคับหลักประกัน เพื่อตรวจสอบและประเมิน กำหนดวงเงินหลักประกัน รวมถึงการจัดแจงการจำหน่าย กิจการนั้นๆ

ก็คือผู้ที่จะมายืนยันว่า กิจการที่จะทำธุรกรรมต่างๆนั้น ที่เกี่ยวข้องกับการที่ต้องมีหลักประกัน ก็ต้องมีคนกลางหรือ บคคลที่3 มายืนยันว่า หลักประกันนี้ถูกวัดมูลค่า เหมาะสม และรวมถึงเป็นผู้เดินเรื่อง ถ้าเกิดเหตุที่ต้องจำหน่าย หลักประกันนั้นอีกด้วย

โดยผุ้สอบบัญชีฯ ที่ต่อใบอนุญาตต่อเนื่องมากกว่า 3 ปีขึ้นไป จะเข้าคุณสมบัติที่จะขึ้นทะเบียนเป็น "ผู้บังคับหลักประกัน” ได้ ซึ่งไม่ต้องสอบใหม่แต่อย่างใด เพียงเข้าอบรม 2 วิชาตามกรมพัฒฯ กำหนด

หน้าที่ของผู้บังคับหลักประกัน

หน้าที่ของผู้บังคับหลักประกันคร่าวๆ ตามประกาศของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็ได้บอกไว้ตามนี้




5. Certified Financial Planner : CFP

CFP คือ คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน(บุคคล) จัดสอบโดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ซึ่งครอบคลุมทั้งการให้คำปรึกษาและจัดทำแผนการเงิน เช่น แผนการเกษียณ เป็นต้น 

การขึ้นทะเบียน CFP ต้อง 1.ผ่านการอบรม 6 วิชา (วิชาละ 10,000)  2.การสอบ 5 ชุด (รวม 15,500) และ3.มีประสบการณ์ตามเกณฑ์ 3 ปี ซึ่งถ้าเราขึ้นทะเบียน CPA แล้วเราสามารถขอสิทธิ์เข้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรมทั้ง 6 วิชาได้ (แต่จ่ายค่าธรรมเนียม 5,350) ซึ่งทำให้เราประหยัดค่าอบรมไปประมาณ 55,000 บาท!!!

เมื่อเราสอบผ่านแล้วสามารถใช้เครื่องหมาย CFP®  ในนามบัตรได้

ดัดแปลงและสรุปจาก http://whollyhall.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Toefl by Rath Panyowat

by Rath Panyowat  Step 1: Build vocabulary หาหนังสือ vocab แล้วนำศัพท์ไปประเมินในเวป vocabulary.com ถ้าต่ำกว่า 1000 "ต้องรู้"...